เสียงสระและรูปสระ


เสียงสระและรูปสระ
เสียงสระ คือ เสียงที่ระบายออกจากปอดผ่านทางหลอดลม แล้วเสียดสีกับสายเสียงในกล่องเสียง ซึ่งสายเสียงจะปิดๆ เปิดๆ อย่างรวดเร็ว เกิดการสั่นสะเทือนและความกังวานขึ้น และเสียงก็จะผ่านออกมาทางช่องปากและช่องจมูกโดยไม่ถูกสกัดกั้น ทำให้สามารถออกเสียงติดต่อกันโดยตลอดและยาวนาน เป็นเสียงก้องเกิดความกังวาน
  • ลักษณะของเสียงสระ
    • เป็นเสียงที่ลมผ่านออกมาได้โดยสะดวกไม่ถูกอวัยวะในปากกักทางลม
    • อวัยวะที่ช่วยให้เสียงสระต่างกัน ได้แก่ ลิ้นและริมฝีปาก
    • เสียงสระออกเสียได้ยาวนาน
    • เสียงสีทุกเสียงเป็นเสียงก้อง เส้นเสียงจะสั่นสะเทือน
    • เสียงสระมีทั้งสระเสียงสั้นและสระเสียงยาว
    • เสียงสระเป็นเสียงที่ช่วยให้พยัญชนะออกเสียงได้ เพราะเสียงพยัญชนะต้องอาศัยเสียงสระเกาะเสมอ จึงจะออกเสียงได้
  • รูปและเสียงสระ
2.1 รูปสระ เป็นเครื่องหมายที่เขียนขึ้นโดดๆ ก็มี หรือใช้เขียนกับรูปสระอื่นเพื่อให้เกิดเสียงสระใหม่ก็มี รูปสระมี 21 รูป ดังนี้
รูปสระ
ชื่อเรียก
วิธีใช้
-
วิสรรชนีย์
สำหรับประหลังหรือเป็นสระอะ เเละประสมกับรูปอื่น เป็นสระ เอะ เเอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ
-
ไม้ผัด,
ไม้หันอากาศ
สำหรับเขียนข้างบนเป็นสระ อะ เมื่อมีตัวสะกด เเละประสมกับรูปอื่นเป็นสระ อัวะ อัว
-
ไม้ไต่คู้
สำหรับเขียนข้างบน เเทนวิสรรชนีย์ในสระบางตัวที่มี ตัวสะกด เช่น เอ็น เเอ็น อ็อน ฯลฯ เเละใช้ประสมกับตัว ก เป็นสระ เอาะ มีไม้โท คือ ก็ อ่าน (เก้าะ)
-
ลากข้าง
  สำหรับเขียนข้างหลังเป็นสระ อา เเละประสม กับรูปอื่นเป็น เอาะ อำ เอา
-
พินทุ์ อิ
สำหรับเขียนข้างบนเป็นสระ อิ เเละประสมกับรูปอื่น เป็นสระ อี อึ อื เอียะ เอีย   เอือะ เอือ เเละใช้เเทนตัว อ ของ สระ เออ เมื่อมีตัวสะกดก็ได้ เช่น เกอน เป็น เกิน ฯลฯ
-
ฝนทอง
สำหรับเขียนข้างบนพินทุ์ อิ เป็นสระ อี เเละประสม กับรูปอื่นเป็นสระ เอียะ เอีย
- 
นฤคหิต,
หยาดน้ำค้าง
สำหรับเขียนข้างบนลากข้าง เป็นสระ อำ   บนพินทุ์ อิ เป็นสระ อึในภาษาบาลีเเละสันกฤตท่านจัดเป็นพยัญชนะ เรียกว่า นิคหิต
"
ฟันหนู
สำหรับเขียนบน พินทุ์ อิ เป็นสระ อือ เเละ ประสมกับสระ อื่นเป็นสระ เอือะ เอือ
-
ตีนเหยียด
สำหรับเขียนข้างล่างเป็นสระ อุ
-
ตีนคู้
สำหรับเขียนข้างล่างเป็นสระ อู
เ-  
ไม้หน้า
สำหรับเขียนข้างหน้า รูปเดียวเป็นสระ เอ สองรูป เป็นสระเเอ   เเละประสมกับรูปอื่นเป็น เอะ เเอะ เออะ  เออ เอียะ เอีย เอือะ เอือ  เอา
ใ  
ไม้ม้วน
สำหรับเขียนข้างหน้าเป็นสระ ใอ
ไ  
ไม้มลาย
สำหรับเขียนข้างหน้า เป็นสระไอ
ไม้โอ
สำหรับเขียนข้างหน้า เป็นสระ โอ เเละเมื่อ ประวิสรรชนีย์ เข้าไปเป็นสระ โอะ
ตัว ออ
สำหรับเขียนข้างหลังเป็นสระ ออ เเละประสมกับรูปอื่น เป็นสระ อือ (เมื่อไม่มีตัวสะกด) เออะ เออ เอือะ เอือ
ตัว ยอ
สำหรับประสมกับรูปอื่นเป็นสระ เอียะ เอีย
ตัว วอ
สำหรับประสมกับรูปอื่นเป็นสระ อัวะ อัว
ตัว รึ
สำหรับเขียนเป็นสระ ฤ
ฤา
ตัว รือ
สำหรับเขียนเป็นสระ ฤา
ฦ  
ตัว ลึ
สำหรับเขียนเป็นสระ ฦ
ฦา
ตัว ลือ
สำหรับเขียนเป็นสระ ฦา
*** ฤ ฤา ฦ ฦา 4 ตัวนี้ เป็นสระมาจากสันสกฤต จะเขียนโดดๆก็ได้ ประสมกับ พยัญชนะ ก็ได้ เเต่ใช้เขียนข้างหลังพยัญชนะ
    • เสียงสระ
เสียงสระในภาษาไทยมี 21 เสียง จำแนกเป็น สระเดี่ยว 18 เสียง และสระเลื่อนหรือสระประสม 3 เสียง
(1) สระเดี่ยว บางทีเรียกว่า สระแท้ สระเดี่ยวในภาษาไทยมี 18 เสียง ได้แก่ อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ แอะ แอ เออะ เออ เอาะ ออ โอะ โอ แบ่งออกเป็นสระเดี่ยวเสียงสั้น 9 เสียง กับสระเดี่ยวเสียงยาว ๙ เสียง สระเดี่ยวเป็นเสียงที่เกิดจากฐานที่เกิดเสียงเพียงฐานเดียว การเกิดของเสียงสระ โดยพิจารณาจากอวัยวะในการออกเสียงนี้ สามารถแบ่งสระออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
  • ระดับความสูงต่ำของลิ้น จำแนกเป็นสระสูง สระกลาง สระต่ำ
  • ตำแหน่งของลิ้นที่ยกขึ้นใกล้เพดาน จำแนกเป็นสระหน้า สระกลาง สระหลัง
  • รูปลักษณะของริมฝีปาก จำแนกเป็น ริมฝีปากห่อ ริมฝีปากเหยียดออก และ ริมฝีปากปกติ (ดังตาราง)
รูปลักษณะริมฝีปาก
ริมฝีปากเหยียดออก
ริมฝีปากปกติ
ริมฝีปากห่อ
ส่วนของลิ้น

ระดับของลิ้น
หน้า
กลาง
หลัง
เสียงสั้น
เสียงยาว
เสียงสั้น
เสียงยาว
เสียงสั้น
เสียงยาว
สูง
อิ
อี
อึ
อื
อุ
อู
กลาง
เอะ
เอ
เออะ
เออ
โอะ
โอ
ต่ำ
แอะ
แอ
อะ
อา
เอาะ
ออ

(2) สระประสม บางทีเรียกว่าสระเลื่อน เป็นเสียงสระที่เมื่อออกเสียงลิ้นอยู่ในระดับหนึ่ง แล้วเลื่อนไปอีกระดับหนึ่งอย่างรวดเร็ว เหมือนเสียงสระสองเสียงประสมกัน สระประสมในภาษาไทย แบ่งออกเป็น6 เสียง คือ เอียะ ( อิ + อะ) เอีย ( อี + อา) เอือะ ( อึ + อะ) เอือ ( อือ + อา) อัวะ ( อุ + อะ) อัว ( อู + อา) ดังต่อไปนี้
ลักษณะสระ
หน้า
กลาง
หลัง
ลักษณะรูปปาก
ริมฝีปากเหยียดออก
ริมฝีปากปกติ
ริมฝีปากห่อ
ลักษณะเสียง
เสียงสั้น
เสียงยาว
เสียงสั้น
เสียงยาว
เสียงสั้น
เสียงยาว
ลักษณะเลื่อนระดับสูง
เอียะ
เอีย
เอือะ
เอือ
อัวะ
อัว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น