พยัญชนะประสม


พยัญชนะประสม คือ พยัญชนะ 2 ตัว ประสมด้วยสระเดียวกันพิจารณาในแง่การออกเสียง มีลักษณะดังนี้
(1) อักษรควบแท้   เป็นพยัญชนะควบกล้ำหรือพยัญชนะประสมที่ออกเสียงพยัญชนะทั้ง ๒ ตัวพร้อมกันสนิทจนเป็นเสียง เดียวกัน  มี  ๑๒  เสียง  ๑๖   รูป  ดังนี้
/ กร/               เช่น   กราบ  กระ
/ กล/               เช่น   กลับกลาย  เกลี้ยงเกลา
/ กว/               เช่น   กว้าง  กวัดเเกว่ง
/ คร/,/ ขร/       เช่น  ขรุขระ   ครึกโครม
/ คล/,/ ขร/       เช่น  ขลุ่ย  คล่อง
/ คว/,/ ขว/       เช่น  ขวนขวาย  ความ
/ ตร/               เช่น   ตริตรอง  ตรวจตรา
/ ทร/               เช่น   นิทรา   จันทรา
/ ปร/                เช่น   ปราบปราม   ปรับปรุง
/ ปล/               เช่น   เปลี่ยนแปลง  ปลอม
/ พร/                เช่น   พร้อม   แพรวพราว
/ พล/,/ ผล/       เช่น   พลับพลึง   ผลุนผลัน
 (2) อักษรควบไม่แท้    เป็นพยัญชนะที่ควบกล้ำกับพยัญชนะ   ร   แต่ออกเสียงเหมือนพยัญชนะเดี่ยว (ไม่ออกเสียงเป็นพยัญชนะควบกล้ำ แต่รูปเป็นพยัญชนะควบกล้ำหรือพยัญชนะประสม ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวแรกเท่านั้น ได้แก่
/ จร/    ออกเสียงพยัญชนะ /จ/     จริง
/ ซร/ /ศร/ /สร/  ออกเสียงพยัญชนะ  / ซ/ /ศ/ และ ส/  ไซร้  เศร้า  สร้าง
/ ทร/    ออกเสียงพยัญชนะ  / ซ/  ทราบ    ทรัพย์   ทรง
(3) อักษรนำ  พยัญชนะสองตัวเรียงกัน   การออกเสียงอักษรนำมีดังนี้
 ไม่ออกเสียงตัวนำ
1. อ นำ  ย  
มีอยู่  4 คำ คือ   อย่า    อยู่   อย่าง   อยาก  ออกเสียงพยัญชนะ   ย   แต่ผันวรรณยุกต์อย่างอักษรกลางตาม อ
2. ห นำอักษรต่ำ (เดี่ยว)
ได้แก่   ง              ว   เช่น  หงาย  หญิง  หนาม   หมี  หยี  หรูหรา  หลาน แหวน  เป็นต้น (ออกเสียงอักษรต่ำ(เดี่ยว) แต่ผันวรรณยุกต์อย่างอักษรสูงตาม ห)
 ออกเสียงตัวนำ
1. อักษรสูงนำอักษรต่ำ (เดี่ยว)
เช่น   ขนม   สนาน    สมอง   สยาย   ขยับ    ฝรั่ง   ถลอก   ผวา    ออกเสียงเป็นสองพยางค์ ออกเสียงพยางค์ต้น เป็นเสียงสระอะครึ่งเสียง   ออกเสียงพยางค์หลังตามสระที่ประสมอยู่ ออกเสียงวรรณยุกต์ผันตามตัวหน้า
2.อักษรกลางนำอักษรต่ำ(เดี่ยว)
เช่น   กนก  ตนุ  จมูก  จวัก   ตลาด  ตงิด  ปลก  เป็นต้น   ให้ออกเสียงเหมือนอักษรสูงนำอักษรต่ำ
3. อักษรสูงนำอักษรต่ำ(คู่)   หรือนำอักษรกลาง
เช่น กลาง ไผท เผดียง เผด็จ เถกิง    ออกเสียงเหมือนอักษรสูงนำอักษรต่ำ   เว้นแต่ไม่ต้อง ออกเสียงวรรณยุกต์ผันตามตัวนำ   ไผท  ออกเสียง  ผะ-ไท  มิใช่   ผะ-ไถ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น