เสียงวรรณยุกต์และรูปวรรณยุกต์


เสียงวรรณยุกต์และรูปวรรณยุกต์
เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงแท้หรือเสียงแปร ซึ่งผู้เปล่งทำให้เป็นเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ อย่างเสียงเครื่องดนตรี ปรากฏเป็น กอ, ก่อ, ก้อ, ก๊อ, ก๋อ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการสร้างรูปอักษรขึ้นแทนระดับเสียงสูงต่ำ เรียกว่า รูปวรรณยุกต์
  • ลักษณะของเสียงและรูปวรรณยุกต์
    • เป็นเสียงที่มีระดับเสียงสูงต่ำประดุจเสียงดนตรี
    • คำที่มีเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน ความหมายจะต่างกันออกไปด้วย
    • เสียงวรรณยุกต์จะเป็นเสียงก้อง เพราะเกิดจากการสั่นสะเทือนของเส้นเสียง ถ้าเส้นเสียงสั่นสะเทือนมากจะเป็นเสียงสูง ถ้าสั่นสะเทือนน้อยจะเป็น เสียงต่ำ
    • เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีจำนวน 5 เสียง ดังนี้
      • เสียงสามัญ เช่น กา จาน ดาม
      • เสียงเอก เช่น ก่า ป่า หัด
      • เสียงโท เช่น ก้า บ้าน วาด
      • เสียงตรี เช่น ก๊า ค้า ฟัก
      • เสียงจัตวา เช่น ก๋า ฝา หู
    • เสียงวรรณยุกต์ทั้ง 5 เสียง มีรูปใช้แทนเสียงเพียง 4 รูป รูปวรรณยุกต์ 4 รูป มีดังนี้
      • เรียกว่า ไม้เอก
      • เรียกว่า ไม้โท
      • เรียกว่า ไม้ตรี
      • เรียกว่า ไม้จัตวา
    • คำทุกคำจะต้องมีเสียงวรรณยุกต์เสมอ แม้ไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับก็ตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น