เสียงและอักษรในภาษาไทย


เสียงและอักษรในภาษาไทย
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ความหมายของคำว่า เสียงว่า สิ่งที่ได้ยินด้วยหู ถ้อยคำที่เปล่งออกมาเพื่อสนองความต้องการต่าง ๆ เช่น  ขอความช่วยเหลือ  แสดงความรู้สึกรัก  เกลียด   โกรธ  ชอบ  ไม่ชอบ  พอใจ  ไม่พอใจ  ฯลฯ
อวัยวะที่ทำให้เกิดเสียง ได้แก่ ปอด หลอดลม กล่องเสียง ลิ้นไก่ ลิ้น เพดานปุ่มเหงือก ฟัน และริมฝีปาก
เสียงในภาษาไทย มี 3 ชนิด คือ
  • เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร เป็นเสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอแล้วมีการดัดแปลงลมในช่องปากทำให้เสียงแตกต่างกันไป เสียงพยัญชนะมีทั้งหมด 21 เสียง สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะ เรียกว่า รูปพยัญชนะ มี 44 รูป
  • เสียงสระ หรือเสียงแท้ เป็นเสียงที่เปล่งออกมาโดยมีการเปลี่ยนแปลงระดับของลิ้นและรูปริมฝีปาก มีทั้งหมด 24 เสียง มีสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงสระ เรียกว่า รูปสระ มี 21 รูป
  • เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี เป็นระดับเสียงสูงต่ำในภาษาไทยเหมือนเสียงดนตรี คำที่มีเสียงวรรณยุกต์ต่างกันจะทำให้ความหมายของคำต่างกันด้วย เสียงวรรณยุกต์มีทั้งหมด 5 เสียง สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงวรรณยุกต์ เรียกว่า รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น